HACCP คืออะไร การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมจุดวิกฤต มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้บริโภค

HACCP คือ อะไร การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมจุดวิกฤต (Hazard analysis and critical control points)

HACCP คือ การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมจุดวิกฤต (Hazard analysis and critical control points) ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหาร

รู้จัก HACCP คืออะไร

HACCP หรือชื่อเต็มคือ Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่การผลิตจนถึงการจัดจำหน่ายและการเก็บรักษา

ซึ่งจะใช้การในการผลิตอาหาร และช่วยให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐสามารถจัดตั้งและตรวจสอบการปฏิบัติด้านการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

โดยหลักการของ HACCP นั้น จะไม่ได้ครอบคลุมไปถึงคุณภาพ(quality)ของผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากกระบวนการผลิต แต่เป็นเครื่องหมายที่เป็นระบบป้องกัน(preventative system)และเป็นเครื่องหมายที่มุ่งเน้นในการประเมินอันตรายและวิเคราะห์อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และวิเคราะห์อันตรายที่อาจจะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร  (food hazard)

โดยอันตรายนั้นสามารถแตกออกได้เป็นหลากหลายชนิดดังนี้ 

Hazard ใน HACCP มีทั้งหมดกี่ประเภท

  • อันตรายทางชีวภาพ (biological hazard)  เป็นอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคหรือสารพิษ
  • จุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) 
  • อันตรายทางเคมี (chemical hazard)  สารเคมีทีใช้ในการเพาะเลี้ยง เพาะปลูก ในวงจรผลิตวัตถุดิบ อาทิ สารปฏิชีวนะ สารเร่งการเจริญเติบโต สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทีใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูดและสารเคมีที่ใช้ในโรงงาน เช่น นํ้ามันหล่อลื่น จารบี สารเคมีทำความสะอาดเครื่องจักรอุปกรณ์ในโรงงาน เป็นต้น
  • อันตรายทางกายภาพ (physical hazard) สิ่งปลอมปนต่างๆ อาทิ เศษแก้ว เศษกระจก โลหะ

ดังนั้นเครื่องหมาย HACCP นั้นจึงมีการกำหนดขึ้นเพื่อให้มีระบบในการตรวจสอบการติดตามเพื่อให้มีการแก้ไขวิธีการผลิตที่อาจจะมีบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ 

หลักการทำงานของระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point)

HACCP นั้นเป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารในทุกๆภาคส่วนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศและผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ถูกกำหนดอยู่ใน GHP ปัญหาและความปลอดภัยของอาหารได้มีการถูกลำดับความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ปัญหาต่างๆหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง และถูกหลักอาจจะส่งผลที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคและตัวเรา ซึ่งหลักการที่อยู่เบื้องหลังของมาตรฐานนี้ได้มีการอธิบายไว้โดยมีทั้งหมดมี 7 หลักการดังนี้ 

7 หลักการ HACCP ของ Codex มีอะไรบ้าง?

หลักการที่ 1 การวิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)

การวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดจากกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นส่งผลอันตรายที่อาจมีต่อผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถแบ่งออกอันตรายต่างๆออกเป็นข้อได้ดังนี้ 

  • อันตรายทางชีวภาพ (biological hazard)
  • อันตรายทางเคมี (chemical hazard)
  • อันตรายทางกายภาพ (physical hazard)

ซึ่งหลักการประเมินความรุนแรง และการประเมินโอกาสที่จะเกิดอันตรายต่างๆขึ้นนั้น จะต้องมีการประเมินในทุกขั้นตอนการผลิต และขั้นตอนต่างๆจากการประเมินนั้น จะต้องมีการกำหนดวิธีป้องกันต่างๆเพื่อลดอันตราย และขจัดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

หลักการที่  2 การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point , CCP)

ในกระบวนการผลิตนั้นคำว่า จุดควบคุมวิกฤต หมายถึง จุดหรือตำแหน่งของวิธีการหรือขั้นตอนในกระบวนการผลิตอาหาร ที่สามารถมีการควบคุมให้อยู่ในค่า หรือควบคุมให้อยู่ในลักษณะที่กำหนดไว้ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้ขจัดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และลดการเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ 

หลักการที่ 3 กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical limit)

การกำหนดค่าวิกฤต ณ จุดควบคุมวิกฤต ซึ่งค่าวิกฤตนั้น อาจจะเป็นค่าของตัวเลข หรือเป็นลักษณะของเป้าหมายของคุณภาพ ในด้านของความปลอดภัยที่ต้องการจากผลการผลิต ณ จุดควบคุมวิกฤตนั้น ผู้ควบคุมนั้นสามารถกำหนดขึ้นได้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับการควบคุม ของแต่ละบริษัทหรือโรงงาน เพื่อให้แน่ใจว่าจุดควบคุมวิกฤตนั้น อยู่ภายใต้การควบคุมเรียบร้อย

หลักการที่ 4 การใช้ระบบการตรวจสอบ ( Establish a system to monitor control of the CCP)

ต้องมีการเฝ้าระวัง โดยจะต้องมีการกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ มีแผนการตรวจสอบที่แน่นอน หรือมีแผนการเฝ้าสังเกตการณ์ และหลังจากมีการสังเกตการณ์แล้วนั้น จะต้องมีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เชื่อมั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานนั้นมีแบบแผน สามารถตรวจสอบได้มีความควบคุมได้อย่างถูกต้องเป็นระบบ

หลักการที่ 5 การสร้างการแก้ไขที่ถูกต้อง (Establish the corrective action to be taken when monitoring indicates that a particular CCP is not under control) 

กำหนดมาตรการแก้ไข สำหรับข้อบกพร่องหรือจุดต่างๆที่จะสามารถเกิดอันตรายได้ และมีการบังคับใช้มาตรการแก้ไขนั้นที่กำหนดขึ้นทันที ในกรณีที่มีการพบว่าจุดควบคุมวิกฤตนั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมตามค่าวิกฤตที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น 

หลักการที่ 6 การสร้างขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้อง HACCP  (Establish procedures for verification to confirm that the H.A.C.C.P. system is working effectively)

ต้องมีการจัดให้ทบทวนประสิทธิภาพของระบบ  HACCP ที่ได้ใช้งานอยู่รวมทั้งต้องมีการใช้ผลวิเคราะห์ทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการพิจารณาเพื่อให้มีการยืนยันว่าระบบที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีและเพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้ 

หลักการที่ 7 การสร้างขั้นตอนการรายงาน (Establish documentation concerning al procedures and records appropriate to these principles and their application) 

ต้องมีการจัดทำระบบ ที่ทำไว้สำหรับบันทึกและสำหรับเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ แต่ละชนิดไว้เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับสืบค้นได้เมื่อยามจำเป็น และเพื่อสามารถนำไปใช้งานได้ต่อไป 

หลักการทำงานของระบบ HACCP มีหลักการ 7 ข้อตาม Codex

ประโยชน์จากการใช้ระบบHACCP​

การทำระบบ HACCP ก็เหมือนเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค สามารถยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับโรงงาน 

หากปฏิบัติตามกระบวนการทั้งหมด จะพบว่าการทำงานจะมีประสิทธิภาพและช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการผลิต หรือการจัดจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการได้ในระยะยาว อีกทั้งยังทำให้หน่วยงานสามารถตรวจสอบ และควบคุมความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมถึงในด้านการขนส่งระหว่างประเทศอีกด้วย และการควบคุมนี้อย่างทำให้ผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์สูงสุดเนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆที่ถูกผลิตนั้นมีความปลอดภัยและตรวจสอบได้ จากประโยคข้างต้นสามารถแบ่งออกได้เป็นข้อดังนี้ 

  • สุขภาพอนามัยของผู้บริโภคดีขึ้นเนื่องจากได้รับอาหารที่มีความปลอดภัย
  • ลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของผู้บริโภค
  • อาหารมีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดของอาหารภายในประเทศ และต่างประเทศ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรที่ผลิตอาหาร
  • เป็นความปลอดภัยของอาหารที่เป็นระบบและสามารถได้รับการรับรอง
  • เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาสู่ระบบบริหารงานคุณภาพหรือที่เรียกว่า ISO 9001
  • เป็นระบบที่นำมาใช้ร่วมกับคุณภาพอื่นๆได้
  • สามารถใช้ในการควบคุมอันตรายจากสารเคมี สิ่งแปลกปลอมกับจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลือง 
  • ช่วยป้องกันการสูญเสียผลิตภัณฑ์จากการผลิตได้
  • เป็นระบบที่เปลี่ยนแปลงการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายและป้องกันการเกิดปัญหาตามหลักการประกันคุณภาพ
  • เพิ่มอายุการเก็บรักษาของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
  • เป็นการยกระดับมาตรฐานให้กับการผลิตและโรงงานการผลิตนั้น
  • เป็นระบบที่ยอมรับในระดับสากลตามมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศว่าสามารถใช้สร้างความมั่นใจในการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัย
ประโยชน์จากการใช้ระบบ HACCP ​

GMP ต่างจาก HACCP อย่างไร​

มาตรฐาน GMP จะเน้นเพื่อรับรองคุณภาพในการผลิตทำให้ผู้บริโภค เกิดความมั่นใจและมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยจะมีการควบคุมในทุกๆด้านของโรงงาน

ส่วนมาตรฐาน HACCP จะเป็นการวิเคราะห์ด้านความอันตรายและจุดวิกฤติเป็นหลัก

จะเห็นได้ว่า GMP นั้น คือการรับรองกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และ HACCP คือกระบวนการที่จะยืนยันอีกทีว่ากระบวนการผลิตนั้นจะไม่มีเรื่องของอันตราย การปนเปื้อนเกิดขึ้น ทั้งนี้การรับรองต่างๆก็จะแตกต่างกันไปอีกในแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์ด้วย

สรุปทุกเรื่องราว HACCP คืออะไร

HACCP คือ การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมจุดวิกฤต (Hazard analysis and critical control points) ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหาร

โดย HACCP จะมีทั้งหมด 7 หลักการ

  • การวิเคราะห์อันตราย
  • การกำหนดจุดควบคุมวิกฤติ
  • การกำหนดค่าวิกฤต
  • การใช้ระบบการตรวจสอบ
  • การสร้างการแก้ไขที่ถูกต้อง
  • การสร้างขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้อง
  • การสร้างขั้นตอนการรายงาน

โดย HACCP จะเป็นตัวยืนยันความปลอดภัยในการผลิตยิ่งขึ้น ยิ่งฝ่ายผลิตมีมาตรฐาน GMP ด้วยจะยิ่งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้มากขึ้นด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น