ทำความรู้จัก ประเภทของสิว

ประเภทของสิว มีอะไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่า สิว (Acne) เป็นการอักเสบของผิวหนังเกิดจากการอุดตันที่ต่อมรูขุมขนบริเวณผิวหนัง (comedone) ปัจจัยหลักในการเกิดสิว คือ ร่างกายผลิตน้ำมันที่ชั้นผิวหนังมากเกินไปทำให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไปอุดตันรูขุมขน และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตในช่วงวัยรุ่นก็อาจทำให้เกิดสิวได้เช่นกันนะคะ มาดู ประเภทของสิว กัน

เรามารู้จัก ประเภทของสิว กันค่ะ

สิวเสี้ยน โคมิโดน (comedones) 

หมายความรวมได้ทั้งสิว หัวดำ (blackheads) และสิวหัวขาว (whiteheads) สิวหัวดำหรือสิวหัวเปิดเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เกิดจากน้ำมันที่อุดตันในรูขุมขน เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสัมผัสกับอากาศบนชั้นผิวหนัง

คำแนะนำการรักษาสิวหัวดำ

ผู้ที่มีผิวหน้ามันควรใช้สบู่ล้างหน้า หรืออาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สบู่ที่ผสมยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์ และอาจจะระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจจะใช้ครีมที่มีส่วนผสมของกรด salicylic ทาเพื่อลอกเอาเซลล์ที่ตายออก ทั้งนี้เพราะกรด salicylic สามารถขัดเซลล์ผิวชั้นนอกให้ลอกออก (exfoliate) และมีฤทธิ์สลายก้อนไขมันอุดตัน (comedolytic)

สําหรับคนที่มีผมมันให้สระผมบ่อยขึ้น และหลีกเลี่ยงอย่าให้น้ำยาสระผมโดนส่วนหลัง เพื่อลดการระคายเคืองจากแชมพูหรือครีมนวดผมเครื่องสําอางต้องเลือกชนิดที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ และใช้ยาละลายขุย เช่น ครีม retinoic acid* ที่มีความเข้มข้น 0.025, 0.05, 0.1 % ทาก่อนนอน หลังทายาอาจจะมีอาการระคายเคือง หากมีอาการดังกล่าวให้ทายาวันเว้นวัน

ในระยะแรกของการใช้ยา หรืออาจจะมีอาการเหอของสิว หลังจากทาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น ยาที่อาจจะเลือกใช้อีกชนิดคือ 5% benzoyl peroxide [BP]* ทา 10-15 นาที แล้วล้างออก หากไม่มีอาการก็ให้ทาทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วล้างออก ถ้าเป็นหัวสิวขนาดใหญ่ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นปิดบริเวณที่เป็น

หลังจากนั้นใช้ที่กดหัวสิวกดเอาสิวออก ให้เอามือออกจากใบหน้า และล้างมือให้สะอาด ซักปลอกหมอน เครื่องนอนให้สะอาด รวมทั้งอุปกรณ์ที่สัมผัสใบหน้าให้สะอาด เช่น โทรศัพท์มือถือ แม้จะเรียกว่าสิวหัวดำแต่สีก็สามารถเป็นได้หลายสี เช่น สีเหลือง น้ำตาลจนถึงเป็นหัวดำ การที่เป็นสิวหัวดำมิใช่เกิดจากความสกปรก ดังนั้นไม่จำเป็นต้องล้างหน้าบ่อย เพราะหากบ่อยเกินไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว

สิวหัวขาว หรือสิวหัวปิด (whiteheads) 

มีลักษณะคล้ายกับสิวหัวดำ แต่จะเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวอุดตันอยู่ เป็นสิวที่เกิดจากไขมันยังอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เห็นรูเปิดเล็กมากหรือไม่เห็นเลยเรียก closed comedones ลักษณะเป็นตุ่มสีขาว

คำแนะนำการรักษาสิวหัวขาว 

ควรหลีกเลี่ยงเครื่องสําอางที่มีไขมัน ผู้ที่หน้ามันให้ใช้สบู่ล้างหน้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ส่วนสบู่ที่ผสมยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์ในการรักษา หรือป้องกันสิวชนิดนี้ ใช้ยาละลายขุย เช่น ครีม retinoic acid* ที่มีความเข้มข้น 0.025, 0.05, 0.1% ทาก่อนนอน ถ้ามีอาการระคายเคืองก็ลดลงให้ทาวันเว้นวัน

ผิวที่ทายาไม่ควรเจอแสงแดด เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างมากมาก ระยะแรกของการใช้ยาสิวจะเพิ่มขึ้น หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์จึงจะดีขึ้น อาจจะใช้5% benzoyl peroxide [BP]* ทาสิวทิ้งไว้ 10-15 นาทีแล้วจึงล้างออก

สิวตุ่ม พาพิว (papules) 

เป็นผดหรือตุ่มสีแดงขนาดเล็กเป็นก้อนแข็งนูนขึ้น ทำให้เกิดความเจ็บปวด

สิวหัวหนอง พัสชุล (pustules) 

เป็นผลมาจากการอักเสบบริเวณต่อมเหงื่อและรูขุมขน เกิดเป็นตุ่มที่มีหนองสีขาวอยู่ตรงหัวสิว ถ้าหัวสิวมีขนาดใหญ่ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำ  อุ่นปิดบริเวณที่เป็น หลังจากนั้นใช้เครื่องมือบีบ

คำแนะนำการรักษาสิวชนิด Papules และ Pustules

ยาทาที่ได้ผลดีคือ Benzoyl peroxide and salicylic acid* ทั้งนี้ยา Benzoyl peroxide* ออกฤทธิ์โดยการฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะลดการอักเสบและ Salicylic acid จะเปิดรูของต่อมขุมขน ทำให้การระบายเชื้อแบคทีเรียดีขึ้น ยาทั้งสองเมื่อใช้ร่วมกันอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผิวแห้ง ให้ใช้สบู่อ่อนล้างหน้าแทนสบู่ที่เข้มข้น หลีกเลี่ยงครีมหรือเครื่องสําอางที่มีไขมัน ล้างมือ ให้สะอาดก่อนทาครีม ซักเครื่องนอน ปลอกหมอน และผ้าเช็ดตัวให้สะอาด

สิวก้อนลึก โนดูล (nodules / large papules) 

คล้ายสิวตุ่มธรรมดา แต่ตุ่มจะเป็นก้อนแข็งขนาดใหญ่ลึกลงไปในชั้นผิวหนัง การรักษา ผู้ป่วยที่มีหน้ามันให้ใช้สบู่ล้างหน้าบ่อย ๆ สบู่ที่ผสมยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์ให้ใช้ยาละลายขุย เช่น retinoic acid* ที่มีความเข้มข้น 0.025,0.05,0.1% ทาก่อนนอน ถ้ามีอาการระคายเคืองให้ทายาวันเว้นวัน หลังทายาไม่ควรถูกแสง เพราะจะทําให้ผิวบริเวณดังกล่าวมีอาการระคายเคืองมาก

ระยะแรกของการใช้ยาโรคอาจจะมีผื่นเห่อ หลังจากนั้น 2-3สัปดาห์จึงจะดีขึ้น หรืออาจจะใช้ 5% benzoyl peroxide [BP]* ทา 10-15 นาที แล้วล้างออก ถ้าไม่มีอาการแพ้ให้ทานาน 1-2 ชั่วโมงแล้วจึงล้างออก หลังจากล้างเอา BP ออกให้ทา clindamycin 0.1% วันละ 2-3 ครั้ง

แนวทางล่าสุดที่มีหลักฐานเกี่ยวกับการรักษาสิวจาก American Academy of Dermatology (AAD) และ European Dermatology Forum (EDF) ได้มีความเห็นว่าเรตินอยด์มีบทบาทสำคัญในการรักษาสิว AAD ระบุว่า “เรตินอยด์เป็นแกนหลักของการรักษาเพราะมีฤทธิ์ช่วยสลายก้อนไขมันอุดตัน (comedolytic) ลบเลือนริ้วรอยเล็กจากการเกิดการอุดตันของไขมันได้

จากการศึกษาในช่วงปี 2012-2014 แสดงให้เห็นว่าแพทย์ผิวหนังใช้เรตินอยด์รักษาสิวถึง 58.8%

สิวซีสต์ (Cysts) 

หมายถึงกระเปาะเป็นถุงภายในอาจจะเป็นลม น้ำ หรือหนอง ทำให้เป็น cystic acne หรืออาจเรียกว่าสิวหัวช้าง ตุ่มสิว ขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายฝี ภายในเป็นหนองอักเสบ เป็นสิวอักเสบที่รุนแรง เรื้อรังที่สุด นอกจากจะเกิดตุ่มนูนในลักษณะต่าง ๆ แล้ว อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาการแสบร้อนในบริเวณที่มีการอักเสบของสิวด้วย

โดยส่วนใหญ่สิวมักจะเกิดขึ้นที่ใบหน้า แผ่นหลัง และบริเวณหน้าอก ยาที่แพทย์เลือกใช้ในการรักษา สิวหัวช้าง Cystic Acne เป็นยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Tetracycline, Doxycycline, Minocycline, Erythromycin ที่สำคัญต้องปรึกษาแพทย์เรื่องผลข้างเคียงของยา เช่น แพ้แสงแดด พิษต่อตับ และไม่ควรให้กับคนตั้งครรภ์

ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาสิวดังกล่าวมีการใช้ทั้งแบบเดี่ยวหรือรวมกัน เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว (P.acne) ยาปฏิชีวนะ เช่น erythromycin* และ clindamycin* เป็นที่นิยมในการนำมาใช้ รักษาสิว clindamycin* และ erythromycin* มีประสิทธิภาพการรักษาสิวอักเสบ โดยอาจใช้ในรูปแบบเฉพาะที่รวมกัน 1-4%(9) ทั้งนี้การใช้ยาปฏิชีวนะอาจมี ผลข้างเคียงเล็กน้อยแม้รวมถึงเกิดผื่นแดง ลอก คัน หรือผิวแห้ง แต่ผลข้างเคียงที่สำคัญที่สุดของยาปฏิชีวนะคือการพัฒนาความต้านทานของแบคทีเรีย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้เป็นยาเดี่ยว

ทั้งนี้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ไขปัญหาสิว รอยสิว และหลุมสิวมากมาย ทางเรามีบริการรับวิจัยและพัฒนาสูตร คัดสรรสารสกัด รวมถึงการผลิตแบบครบวงจร เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปลอบประโลมผิวให้มีสุขภาพผิวที่ดีขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ด้วยมาตรฐานระดับสากล ก่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างสูงสุด

ปล. อย่าลืมติดตามข่าวและกิจกรรมความรู้กันในตอนต่อไปด้วยนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น