มาตรฐาน ฮาลาล (Halal) คืออะไร สำคัญอย่างไร และวิธีขอรับรองฮาลาล

เครื่องหมายฮาลาลที่ออกให้ผู้ประกอบการ

ผู้ผลิตทั้งหลายต้องคอยดูแลการผลิตให้เป็นไปตามนโยบาย รวมไปถึงต้องควรควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย มาตรฐานส่วนใหญ่ก็ GMP GHP HACCP แต่มีมาตรฐานนึง ถ้าคุณจะขายให้คนอิสลาม คุณต้องมีมาตรฐาน ฮาลาล

ฮาลาล คืออะไร? ตราฮาลาล คืออะไร?

ฮาลาล (Halal) คือ การผลิตหรือการบริการทั้งหลาย ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ได้แก่ อาหาร เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม สาธารณูปโภค เป็นต้น

ตราฮาลาล คือ ตราสัญลักษณ์ที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับชาวมุสลิม ในการใช้อุปโภคและบริโภค ที่ออกโดย คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท) หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการแสดงลงบนสลากผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด 

เครื่องหมายฮาลาลที่ออกให้ผู้ประกอบการ

โดยใช้ตราสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล (Halal) ” ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่า حلال ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง และใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” เป็นภาษาไทยนั่นเอง

ทำไมต้องมี เครื่องหมายฮาลาล ?​

ผลิตภัณฑ์ที่มีตราฮาลาล เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับชาวมุสลิมทั่วโลก และมีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคน ไม่เฉพาะเพียงสำหรับชาวมุสลิมเท่านั้น เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้น ทุกคนสามารถใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคของฮาลาลได้ทั้งหมด

หรือถ้าให้เข้าใจกันง่ายๆ อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ปรุง ประกอบ ตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพื่อรับประกันว่าชาวมุสลิมสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าและบริการต่างๆ ได้โดยสนิทใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม

แต่ในอิสลามก็จะมีคำว่า ฮารอม ที่เป็นการ ต้องห้าม หรือ ว่าไม่อนุมัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ ฮาลาล โดยข้อห้ามที่ห้ามบริโภคตามหลักศาสนาก็จะมีดังนี้

อาหารชนิดใด ไม่ใช่ฮาลาล

สิ่งต้องห้ามใช้ผลิตในผลิตภัณฑ์ฮาลาล ได้แก่

  • หมู หมูป่า สุนัข
  • ห้ามบริโภคสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น เสือ สิงโต รวมถึงนกล่าเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้ง 
  • สัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู
  • สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น ผึ้ง มด และนกหัวขวาน
  • สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด แมลงวัน หนอน หรือสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกัน
  • สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก และสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกัน
  • ลาและล่อที่เลี้ยงเอาไว้ใช้งาน 
  • เนื้อของซากสัตว์ หมายถึงสัตว์และสัตว์ปีกที่ตายเองโดยไม่ได้ผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา 
  • สัตว์บกและสัตว์ปีก ที่ไม่ได้เชือดอย่างถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม เช่น ถูกรัดคอตาย ถูกตีจนตาย ตกมาตาย
  • สัตว์ที่ถูกพลีให้แก่สิ่งอื่นจากอัลเลาะห์ ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ถูกเชือดโดยผู้เชือดกล่าวนามอื่นจากนามอัลเลาะห์ เหตุผลที่ห้ามสำหรับกรณีนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัทธาทั้งสิ้น 

หลังจากตรงนี้น่าจะพอตอบคำถามได้แล้วว่า อิสลามกินเนื้อไก่ได้ไหม หรือ อิสลามกินไข่ได้ไหม หากทั้งหมดอยู่ตามข้อที่เกล่าข้างต้น เช่น ถ้าเป็นไก่ที่ถูกเชือดตามหลักของศาสนา ก็ถือว่าทานได้ปกติ

อาหาร ฮาลาล และ ฮารอม ต่างกันอย่างไร

เลขฮาลาล มีกี่ตัว

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.ฮล.) กำหนดให้หมายเลขผลิตภัณฑ์ฮาลาลมี 12 หลัก

ในปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับชาวมุสลิมนั้น มีจำนวนมากกว่า 2,000 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบที่อยู่ในตลาดแห่งนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับตราสัญลักษณ์ฮาลาลมากยิ่งขึ้น ในทุกกระบวนการผลิต

โดยสามารถยึดตามเอกสาร General Guideline for use of the Term ” Halal ” ปี 2540 จาก Codex และสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้นำมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยได้ยึดหลัก และอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษดังกล่าว มอก.1701-2541 ZCAC GL- 24/1997

เครื่องหมายฮาลาลแต่ละแบบ

การรับรอง ฮาลาล ต้องขออย่างไร เสียเงินไหม

ผู้ผลิต หรือสถานประกอบการ หากต้องการได้รับการรับรองเครื่องหมายฮาลาล จะต้องมีกระบวนการและเตรียมเอกสารเพื่อยื่นแก่หน่วยงานรับรองฮาลาลในประเทศไทย มีขั้นตอนดังนี้

การเตรียมการและส่งเอกสารในการยื่นคำขอ

ผู้ประกอบการจะต้องจัดเตรียมเอกสารตามที่สถาบันฯกำหนด เพื่อยื่นคำขอรับตราสัญลักษณ์ฮาลาล ต่อสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท) หรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (สกอจ) แล้วแต่กรณี

เอกสารที่ใช้ขอรับรองฮาลาล

  • บุคคลธรรมดา (มีแรงม้ารวม 5-20 แรงม้า และ/หรือมีคนงาน 7-20 คน ยกเว้นโรงงานที่มีมลภาวะ)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต , ขั้นตอน , วัตถุดิบ , ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน

การพิจารณาคำขอ มาตรฐานฮาลาล

  • เจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้องของเอกสารที่ประกอบคำขอ

  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

  • ผู้ประกอบการจ่ายค่าธรรมเนียม

  • เจ้าหน้าที่นัดหมายการตรวจสอบสถานประกอบการกับผู้ประกอบการ

ฮาลาล คืออะไร

การเข้าตรวจสอบคุณภาพและขั้นตอนกระบวนการผลิตของ สินค้าฮาลาล

โดยจะต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ที่ควบคุมการผลิต จะต้องเป็นชาวมุสลิมเท่านั้น

  • วัตถุดิบ และเครื่องปรุง  จะต้องมีหลักฐานแหล่งที่มาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ว่า “Halal” ห้ามแปดเปื้อนสิ่งต้องห้ามเด็ดขาด

  • วัตถุดิบจากสัตว์ต่าง ๆ ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ

  • อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการผลิต จะต้องสะอาด ถูกต้อง และห้ามใช้อุปกรณ์ร่วมกับสิ่งของต้องห้ามตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม

  • กระบวนการขนส่ง ขนย้าย การเก็บรักษา บรรจุหีบห่อ  และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาล ห้ามปะปนกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ็

การพิจารณาผลการตรวจสอบและมอบหนังสือรับรอง

คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จึงออกหนังสือสำคัญเพื่อรับรองฮาลาลให้ใช้ หลังจากผู้ประกอบการชำระค่าธรรมเนียมแล้ว โดยมีอายุการรับรองไม่เกินหนึ่งปี

การติดตามผลและประเมินผล

โดยมีกลไกการตรวจสอบ ดังนี้

  • มีผู้ตรวจการอาหารฮาลาล เพื่อตรวจสอบสินค้าอาหารฮาลาลในตลาด

  • ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงาน การปฏิบัติงาน ของที่ปรึกษาสถานประกอบการ

  • สามารถเข้าตรวจสอบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต สถานประกอบการ และการให้บริการ ที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า ด้วยระยะเวลาที่เหมาะสม

  • ฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ทราบหรือพิจารณา

หน่วยงานรับรองฮาลาลภายในประเทศไทย

  1. คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (กอจ.) ประเทศไทยมีทั้งสิ้น 36 แห่ง และมีการขอจดทะเบียนเพิ่ม อีก 2 แห่ง มีหน้าที่ในการตรวจสอบรับรองสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น
  2. จังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.)


หลังจากมีการตรวจสอบรับรองแล้วสถานประกอบการให้สถานประกอบนั้นยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.)

ฮาลาล คืออะไร

หน้าที่ของสถานประกอบหรือผู้ผลิตสินค้าฮาลาล

  1. รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ
  2. วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล” โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม
  3. วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ
  4. เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม
  5. ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ

สรุปทุกข้อสงสัย ฮาลาล (Halal)

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยมากกว่า 1 แสนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตราฮาลาล ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ตราฮาลาลถูกแสดงบนฉลากสินค้าที่หลากหลายมากมายที่สุดในโลก 

ดังนั้น “Halal” จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ผลิต ที่มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะเป็นเครื่องหมายที่สื่อว่า ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการรับรองมาตรฐาน ชาวมุสลิมสามารถรับประทานหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นี้ได้นั่นเอง